ด้านที่ 1 ด้านการบริหารจัดการ
 
1. นโยบายการจัดการคุณภาพ
   1.1 สถานพยาบาลจัดให้มีนโยบายการจัดการคุณภาพและมีการดำเนินงานอย่างเป็นรูปธรรม
   1.3  มีแผนงานและกิจกรรมการมีส่วนร่วมของบุคลากร
   1.4  มีแผนงานและมีกิจกรรมที่แสดงถึงการมีส่วนร่วมของชุมชน หรือผู้รับบริการ หรือญาติ หรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการบริการ
 
2. กระบวนการคุณภาพ
   2.1 มีแผนงานและมีการดำเนินงานที่แสดงถึงคุณภาพบริการและระบบสนับสนุนบริการ
   2.2 มีแผนงานและมีการดำเนินงานที่แสดงถึงคุณภาพการบริหารสถานพยาบาล
 
3. ผลลัพธ์ของการจัดการคุณภาพ
   3.1 มีแผนงานและมีการดำเนินงานเรื่องความพึงพอใจและความมั่นใจของผู้รับบริการและประชาชน
   3.2 มีแผนงานและมีผลงานที่แสดงถึงความสุขและความพึงพอใจของบุคลากรในสถานพยาบาล
   3.3  มีแผนงานและมีการดำเนินงานที่แสดงถึงชื่อเสียงของสถานพยาบาล
 
ด้านที่ 2 ด้านการบริการสุขภาพ

ด้านที่ 3 ด้านเกณฑ์การประเมินด้านอาคาร สถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวก

  • AR หมวดงานสถาปัตยกรรม
  • IN หมวดงานมัณฑนศิลป์
  • LS หมวดงานภูมิทัศน์
  • ST หมวดงานโครงสร้าง
  • EE หมวดงานระบบไฟฟ้า
  • SN หมวดงานระบบประปาและสุขาภิบาล
  • ME หมวดงานระบบเครื่องกล

ด้านที่ 4 ด้านสิ่งแวดล้อม

  1. การกำหนดนโยบายและการจัดการสิ่งแวดล้อม
  2. การจัดการมูลฝอย (มูลฝอยทั่วไป, มูลฝอยติดเชื้อ, วัสดุและกากของเสียอันตราย)
  3. การจัดการน้ำเสีย
  4. การจัดการน้ำอุปโภคและบริโภค
  5. การจัดการระบบส่องสว่าง
  6. การจัดการมลพิษทางเสียง
  7. การควบคุมมลพิษทางอากาศ
  8. การลดปริมาณของเสีย
  9. การจัดการด้านพลังงาน
ด้านที่ 5 ด้านความปลอดภัย

  1. การจัดการด้านความปลอดภัย
  2. กฎ ระเบียบ มาตรฐานหรือคู่มือปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยในการทำงาน
  3. การอบรมบุคลากร
  4. สภาพแวดล้อม ความปลอดภัยในการทำงานตามปัจจัยเสี่ยงของบุคลากร
  5. การจัดการแบบแปลนแผนผังงานระบบวิศวกรรมที่มีความเสี่ยงสูง
  6. การตรวจสอบประสิทธิภาพระบบทางวิศวกรรมของห้องที่ให้บริการทางการแพทย์ที่สำคัญ
  7. คุณภาพของระบบไฟฟ้า
  8. การจัดการระบบป้องกันและระงับอัคคีภัย
  9. ระบบก๊าซทางการแพทย์
  10. พื้นที่กำเนิดรังสี
ด้านที่ 6 ด้านเครื่องมืออุปกรณ์ทางการแพทย์และสาธารณสุข
  1. การจัดหาและติดตั้งของเครื่องมืออุปกรณ์ทางการแพทย์และสาธารณสุข
  2. การใช้งานและบำรุงรักษาตามรอบเวลาของเครื่องมืออุปกรณ์ทางการแพทย์และสาธารณสุข
  3. ผลการตรวจสอบและบำรุงรักษาตามรอบเวลาของเครื่องมืออุปกรณ์ทางการแพทย์และสาธารณสุข
  4. การซ่อมบำรุงหรือการบำรุงรักษาเชิงแก้ไขของเครื่องมืออุปกรณ์ทางการแพทย์และสาธารณสุข
  5. การยกเลิกการใช้งานเครื่องมืออุปกรณ์ทางการแพทย์และสาธารณสุข
ด้านที่ 7 ด้านระบบสนับสนุนบริการที่สำคัญ
  1. ระบบเรียกพยาบาล
  2. ระบบวิทยุคมนาคม
  3. ระบบโทรศัพท์
  4. ระบบเสียงประกาศ
  5. ระบบกล้องโทรทัศน์วงจรปิด
  6. ระบบเครือข่ายสื่อสารข้อมูล
  7. ระบบโทรทัศน์ภายใน
  8. ระบบวิศวกรรมในรถพยาบาล

 ด้านที่ 8 ด้านสุขศึกษาและพฤติกรรมสุขภาพ

  1. การบริหารจัดการ
  2. กระบวนงานสุขศึกษาในกลุ่มไม่ป่วยเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพในชุมชน
  3. กระบวนการสุขศึกษาในกลุ่มป่วยเพื่อส่งเสริมการจัดการตนเองในผู้ป่วยและญาติ
  4. ผลลัพธ์การดำเนินงานสุขศึกษาและพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ

ด้านที่ 9 ด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์

1.โครงสร้างและบทบาท ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ

1.1 มีการจัดทีมดูแลระบบสารสนเทศของโรงพยาบาลประกอบด้วยผู้บริหารและฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ

1.2 มีการจัดทำแผนแม่บทหรือแผนพัฒนาของโรงพยาบาลโดยมีการกำหนดเป้าหมายและแนวทางการพัฒนาและการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศไว้อย่างชัดเจน

1.3 มีนโยบายและแผนการปฏิบัติด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของโรงพยาบาล

1.4 มีการกำหนดมาตรฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศต่าง ๆ ที่จำเป็นสอดคล้องกับมาตรฐานของประเทศหรือมาตรฐานสากล ได้แก่ มาตรฐานข้อมูล มาตรฐานรหัสข้อมูล มาตรฐานการปฏิบัติงาน มาตรฐานความปลอดภัยและความลับของผู้ป่วย มาตรฐานระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ มาตรฐานทางกายภาพและสภาพแวดล้อม

1.5 มีการกำหนดมาตรฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศต่าง ๆ ที่จำเป็นสอดคล้องกับมาตรฐานของประเทศหรือมาตรฐานสากล ได้แก่ มาตรฐานข้อมูล มาตรฐานรหัสข้อมูล มาตรฐานการปฏิบัติงาน มาตรฐานความปลอดภัยและความลับของผู้ป่วย มาตรฐานระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ มาตรฐานทางกายภาพและสภาพแวดล้อม

 

2. การจัดการความเสี่ยงในระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ

2.1 มีกระบวนการประเมินและให้คะแนนความเสี่ยงของระบบสารสนเทศอย่างเป็นระบบ โดยการมีส่วนร่วมของทุกฝ่าย

2.2 มีแผนจัดการความเสี่ยงเป็นลายลักษณ์อักษร โดยกำหนดกลยุทธ์โครงการ ระยะเวลาดำเนินการ ผู้รับผิดชอบ อย่างชัดเจน

2.3 มีการดำเนินการตามแผนจัดการความเสี่ยง

2.4 มีการติดตาม ประเมินผลการดำเนินการจัดการความเสี่ยง และวิเคราะห์ผลการประเมิน จัดทำเป็นรายงาน

2.5 มีการนำผลการประเมินการดำเนินการจัดการความเสี่ยงมาปรับแผนการจัดการความเสี่ยงให้ดีขึ้น

 
3. การจัดการความมั่นคงปลอดภัยในระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ 

3.1 มีการจัดทำนโยบายและระเบียบปฏิบัติด้านความมั่นคงปลอดภัยในระบบ IT

3.2  มีนโยบายและระเบียบปฏิบัติที่อนุญาตให้เฉพาะผู้ที่รับผิดชอบดูแลรักษาผู้ป่วยในช่วงเวลาปัจจุบันเท่านั้นที่จะเข้าถึงข้อมูลผู้ป่วยรายนั้นได้

3.3 มีนโยบายและระเบียบปฏิบัติที่ป้องกันความลับผู้ป่วยมิให้รั่วไหลทุกช่องทาง รวมทั้งช่องทาง Social Media ทุกด้าน

3.4 มีการประชาสัมพันธ์นโยบายและระเบียบปฏิบัติให้บุคลากรทุกคนได้รับทราบ

3.5 มีการตรวจสอบว่าบุคลากรได้รับทราบ เข้าใจ ยอมรับ และปฏิบัติตามระเบียบปฏิบัติด้านความมั่นคงปลอดภัยอย่างเคร่งครัด

3.6 มีการประเมินผลการปฏิบัติตามระเบียบปฏิบัติและนำผลการประเมินมาปรับกระบวนการบังคับใช้ระเบียบปฏิบัติต่อไป

 
4. การจัดการศักยภาพของทรัพยากรในระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ

4.1 มีการวิเคราะห์สถานการณ์ปัจจุบันและ Gap Analysis ของทรัพยากรด้าน Hardware, Software, Network, บุคลากร

4.2 มีการจัดทำแผนเพิ่มหรือจัดการศักยภาพของทรัพยากร ด้าน Hardware, Software, Network

4.3 มีการกำหนดสมรรถนะตามบทบาทหน้าที่ที่จำเป็น (Functional Competency) ของบุคลากรด้าน IT ทุกคน ประเมินสมรรถนะตามบทบาทหน้าที่ และจัดทำแผนเพิ่มสมรรถนะรายบุคคล

4.4 มีการดำเนินการตามแผนเพิ่มสมรรถนะและศักยภาพ (Hardware, software, network) และ มีการประเมิน วิเคราะห์ผลการดำเนินตามแผน

4.5  มีการนำผลการวิเคราะห์มาปรับปรุงแผนเพิ่มศักยภาพให้ดีขึ้น


 5. การจัดการห้อง Data Center

5.1 มีการจัดการ Data Center ของโรงพยาบาลให้มีความมั่นคงปลอดภัย

5.2 ห้อง สถานที่ และสิ่งแวดล้อมต้องจัดให้มีความปลอดภัยจากบุคคลภายนอก

5.3 มีระบบป้องกันอัคคีภัย ได้แก่ ระบบตรวจจับควัน ระบบเตือนภัย เครื่องดับเพลิงและระบบดับเพลิงอัตโนมัติ

5.4 มีระบบป้องกันความเสียหายของข้อมูลและระบบ ซึ่งรวมถึง ระบบไฟฟ้าสำรอง (UPS) ระบบ RAID, Redundant Power supply, Redundant Server

5.5 มีการวิเคราะห์ความเหมาะสม มาตรฐาน ความเสี่ยงและความคุ้มค่าในการเลือกใช้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์เครือข่าย ห้อง Data Center

 

 

 

 

 

 

 

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้